Friday, December 27, 2013

พระนามต่างๆของ พระศิวะมหาเทพ.....

มหาเทวะ พระองค์ทรงเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ พระผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง พระผู้เกิดก่อน 
ทุกสิ่งทุกอย่างพระผู้ไม่มีวันเกิดและวันตาย  พระองค์ทรงมีพระนามมากมาย 
มีความหมายในตัวเอง พระนามของพระมหาเทวะที่กล่าวถึงในโลก คือ...

1.พระสดาศิวะ (พระผู้เป็นใหญ่แห่งพระศิวะเทพ)
2.พระหะระ (พระผู้ทำลายล้าง)
3.พระมหารุทร (เทพเจ้าแห่งการทำลายล้าง)
4.พระศังกร (เทพเจ้าผู้มีน้ำพระทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตาสงสาร)
5.พระปุษกร (พระผู้ทรงทำนุบำรุง)
6.พระปุษกร (พระผู้ทรงทำนุบำรุง)
7.พระอรธิคะมยะ (พระผู้ทรงเห็นใจต่อการอ้อนวอนของผู้กราบไหว้บูชา)
8.พระสดาจาร (เทพเจ้าแห่งการกระทำอันสูงสุด)
9.พระสรวะ (เทพเจ้าผู้อยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง,พระผู้ประทานความผาสุข)
10.พระมเหศวร (เทพเจ้ายิ่งใหญ่)
11.พระจันทรปีฑ (พระผู้มีพระจันทร์เสี้ยวเป็นมงกุฏ)
12.พระจันทรเมาลี (พระผู้มีพระจันทร์เสี้ยวอยู่บนเมาลี)
13.พระวิศวัมกเรศวร (เทพเจ้าแห่งแผ่นดิน)
14.พระกาปาลิน (เทพเจ้าผู้ถือหัวมนุษย์ในพระหัตถ์)
15.พระนีลโลหิต (พระผู้มีโลหิตสีน้ำเงิน)
16.พระฑยานาธาร (เทพเจ้าแห่งการทำสมาธิกรรมฐาน)
17.พระอัปริจเจทยะ (พระผู้มีแต่ความลึกลับ)
18.พระโคริภัตรฤ (พระสวามีแห่งพระแม่โครีอุมา)
19.พระคเณศวร (เทพเจ้าแห่งบริวารคณะ)
20.พระอัษฏมูรติ (พระผู้มีรูปร่างทั้ง 8 ประการแห่งจักรวาล)
21.พระวิศวมูรติ (พระผู้มีรูปร่างแห่งจักรวาล)
22.พระตริวรคุ (พระผู้ให้มีการสร้างจักรวาลขึ้นมา)
23.พระเทวะเทวา (เทพเจ้าแห่งเทวะทั้งหลาย)
24.พระตริโลจนะ,พระตรีเนตร (พระผู้มีดวงตาสามดวง)
25.พระวามเทวะ (เทพเจ้าผู้สมควรแก่การกราบไหว้บูชา)
26.พระมหาเทวะ (เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่)
27.พระปตุ (พระผู้ประทานซึ่งผลบุญทั้งหลาย)
28.พระทฤฑะ (พระผู้มีความมั่นคงไม่โอนเอน)
29.พระวิศวรูป (พระผู้มีหลายรูปร่างลักษณะ)
30.พระวิรูปากษะ (พระผู้มีดวงตาเป็นเลขคี่)
31.พระวาคิศ (เจ้าแห่งวาทศิลป)
32.พระสุรสัตตัม (เทพเจ้าดีเลิศที่สุด)
33.พระฤษางคะ (เทพเจ้าผู้มีธงเป็นรูปวัว)
34.พระวฤษวาหนะ (พระผู้มีวัวเป็นพาหนะ)
35.พระอีศ (พระผู้เป็นใหญ่เหนือความยิ่งใหญ่ทั้งหมด)
36.พระพินาคิ (พระผู้ทรงคันศรอันยิ่งใหญ่)
37.พระจิรันตนะ (พระผู้เป็นอมตะ)
38.พระตโมหระ (พระผู้ขจัดความโง่เขลาให้หมดสิ้นไป)
39.พระมหาโยคิน (พระโยคียิ่งใหญ่)
40.พระโคปัตฤ (พระผู้ให้ความคุ้มครองรักษา)
41.พระพรหมมาทหฤต (พระดวงจิตแห่งจักรวาล)
42.พระชฏิน (พระผู้มีเกษาเป็นลูกลอน)
43.พระกาลกาล (พระผู้ประหารความตาย)
44.พระกฤตติวาสัส (พระทรงนุ่งห่มด้วยหนังช้าง)
45.พระปราณตาตมัก (พระวิญญาณแห่งผู้ที่มีความจงรักภักดีทั้งหมด)
46.พระปุรุษ (พระวิญญาณยิ่งใหญ่แห่งบรรพบุรุษ)
47.พระชุษยะ (พระผู้มีค่าควรแก่การกราบไหว้บูชา)
48.พระทิวยายุช (พระผู้มีอาวุธอันยิ่งใหญ่)
49.พระสกันฐะคุรุ (พระอาจารย์แห่งพระกุมารสกันฐะ)
50.พระปรเมษทิน (พระผู้ประทับอยู่บนยอดเขาสูงสุด)
51.พระอนาทิมาธยะนิธยะนิธน (พระผู้ที่ไม่มีการเกิดเริ่มต้น ตอนกลางหรือการสิ้นสุด)
52.พระคินีศทิม (เทพเจ้าแห่งภูเขาทั้งหมด)
53.พระคิริชาธวะ (พระสวามีแห่งพระแม่ปราวตี)
54.พระกุเบรพันธุ (พระญาติแห่งพระพระกุเบร)
55.พระศรีกันฑะ (แห่งพระศอ อันมีแสงเป็นประกาย)
56.พระโลกาวรโรตมะ (พระผู้มีวรรณะสูงสุดกว่าวรรณะทั้งหมดในโลก)
57.พระสมาธิเวทยะ (พระผู้เป็นใหญ่แห่งการทำสมาธิรำลึกถึง)
58.พระนีลกัณฑะ (พระผู้มีพระศอสีฟ้า)
59.พระวิศาลากษะ (พระผู้มีดวงเนตรอันกว้างใหญ่)
60.พระสุเรศ (เจ้าแห่งเทพเจ้าทั้งหมด)
61.พระสูรยตามัน (พระผู้เผาไหม้ด้วยแสงอาทิตย์)
62.พระธรรมธยักษะ (พระประธานแห่งคุรธรรม)
63.พระกัษมาเกษตร (เทพเจ้าผู้มีพระทัยกว้างใหญ่ด้วยการให้อภัย)
64.พระภัควัต (เทพเจ้ายิ่งใหญ่)
65.พระภัคเนตรภิต (พระผู้ควักดวงตาของฤษี ภัคคะ)
66.พระปศุปติ (เทพเจ้าแห่งความเมตตาและพระวิญญาณสูงสุด)
67.พระปรันตัป (พระผู้ทำลายข้าศึกศัตรู)
68.พระทยากร (พระผู้เต็มเปี่ยมด้วยความสมเพท)
69.พระกปรทิน (พระผู้มีเกษาเป็นลูกลอน)
70.พระกามศาสัน (พระผู้ทรงลงโทษพระกามเทพ)
71.พระสัมศานนิสัย (เจ้าผู้อาศัยอยู่ ณ เชิงตะกอน)
72.พระมหากรัตฤ (พระผู้สร้างจักรวาล)
73.พระมเหษธิ (แพทย์ที่ยิ่งใหญ่)
74.พระอัมฤตปะ (พระผู้ดื่มน้ำอมฤต)
75.พระมหาเตชัส (พระผู้มีความสง่ายิ่งใหญ่)
76.พระมหาธยุติ (พระนักรบยิ่งใหญ่)
77.พระเตโชมัย (แห่งแสงสว่างยิ่งใหญ่)
78.พระอัมฤตมัย (พระผู้เต็มเปี่ยมด้วยน้ำอมฤต)
79.พระอันนมัย (แห่งอาหารธรรมชาติ)
80.พระสุธาปติ (เทพเจ้าแห่งความยุติธรรม)
81.พระปุราตัน (เทพเจ้าผู้มีความยิ่งใหญ่กว่าธรรมชาติ)
82.พระนิติ (แห่งความยุติธรรม)
83.พระศุทราตมัน (พระวิญญาณบริสุทธิ์)
84.พระอาชาตศัตรู (ไม่มีศัตรูใดที่มีความยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์ในจักรวาล)
85.พระโลกัณกร (พระผู้สร้างจักรวาล)
86.พระเวทกร (พระผู้ให้กำเนิดพระเวททั้งหมด)
87.พระสนาตัน (พระผู้เป็นอมตะ)
88.พระมหรษี (นักพรตยิ่งใหญ่)
89.พระวิศวทปติ (พระผู้ให้แสงสว่างแก่จักรวาล)
90.พระสุกฤต (พระผู้สมควรแก่การเคารพบูชา)
91.พระสรวัท (พระผู้ประทานทุกสิ่งทุกอย่าง)
92.พระพรหมสฤก (พระผู้สร้างพระพรหม)
93.พระคงคาปละโวทัก (พระผู้ปล่อยให้แม่น้ำคงคาไหลลงสู่โลก)
94.พระคงคาธร (เทพเจ้าแห่งแม่น้ำคงคา)
95.พระวิชัตตาตมัน (พระผู้เอาชนะตนเอง)
96.พระวิเธยาตมัน (พระผู้ควบคุมตนเอง)
97.พระภูตวาหนะสวรธิ (พระผู้มีบริวารและพาหนะเป็นภูตปีศาจ)
98.พระคณะกาย (ด้วยทรงมีบริวารคณะเป็นผู้คุ้มกัน)
99.พระกามบาล (พระผู้ปกป้องแห่งความต้องการทั้งหลาย)
100.พระภัสโมทธูลิตวิฌหะ (พระผู้ทาถูองค์ด้วยขี้เถ้าจากเชิงตะกอน)
101พระภัสมะปรียะ (พระผู้ทรงโปรดแห่งขี้เถ้าจากเชิงตะกอน)
102.พระสมาวรัต (พระผู้ทรงหมุนวงล้อแห่งความมั่นคงของโลก)
103.พระอนิวฤตตาตมา (พระผู้มีดวงวิญญาณที่ไม่รวนเรเปลี่ยนแปลง)
104.พระอกลมัย (พระผู้ไร้บาป)
105.พระจตุรพหุ (พระผู้มี 4 กร)
106.พระทุราสัท (พระผู้ยากแก่การเข้าถึง)
107.พระทุรคม (พระผู้ยากแก่การข้ามพ้นได้)
108.พระทุรคะ (พระผุ้ยากแก่การเข้าถึง)
109.พระสรวายุธวาศารัท (พระผู้มีความชำนาญในการใช้อาวุธทั้งหมด)
110.พระศุภางคะ (พระผู้มีรูปร่างอันเป็นมงคล)
111.พระโลกสารังคะ (พระผู้เป็นสาระสำคัญแห่งจักรวาล)
112.พระอภีรุ (ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย)
113.พระสาธุสาทยะ (พระผู้จะสามารถเข้าถึงได้ด้วยการบำเพ็ญสมาธิเท่านั้น)
114.พระริปุชีวหร (พระผู้ทำลายล้างศัตรู)
115.พระมหาหรัท (น้ำวกวนลึก)
116.พระวฤนทารวันทิต (พระผู้ได้รับการสรรเสริญบูชาจากเทพเจ้าทั้งหมด)
117.พระวยาตรจรมามพร (พระผู้ทรงนุ่งห่มด้วยหนังเสือ)
118.พระวยาลิน (พระผู้มีงูพันพระองค์)
119.พระศัตรุชิต (พระผู้ปราบศัตรูให้หมดสิ้นไป)
120.พระอาศรัม (พระเวทีแห่งชีวิต)
121.พระวายุวาหนะ (ด้วยมีพระวายุเป็นพาหนะ)
122.พระสัตยะพร (อุทิศเพื่อความดีและความซื่อสัตย์)
123.พระอานันทะ (พระผู้ประทานพร)
124.พระทังฑะ (พระผู้งลงโทษ) 
125.พระทัมยิตฤ (พระผู้อนุรักษ์)
126.พระมหามายา (แห่งพระมายายิ่งใหญ่)
127.พระวีตราคะ (พระผู้ไร้ตัณหาราคะ)
128.พระกัมเลษัณ (พระผู้มีดวงเนตรดอกบัว)
129.พระสรวกรมาลัย (ศูนย์รวมแห่งพิธีกรรมทางศาสนาทั้งหมด)
130.พระมงคลยะ (เทพเจ้าแห่งมงคล)
131.พระที่รฆตัปส์ (แห่งการบำเพ็ญพรตอันยาวนาน)
132.พระปรัมตัปส (เทพเจ้าแห่งการทำกรรมฐานสูงสุด)
133.พระสรวปาปหร (พระผู้ทำลายล้างบางทั้งหลาย)
134.พระหระ (พระผู้กำจัดบาปทั้งหมด)
135.พระกมัณฑลุธร (เทพเจ้าผู้ทรงถือหม้อน้ำมนต์)
136.พระกาลโยคิน (เทพเจ้าผู้รวบรวมเวลาเอาไว้)
137.พระมหานาท (พระผู้มีเสียงอันดัง)
138.พระมโหสาหะ (แห่งความกระตือรือร้นยิ่งใหญ่)
139.พระปุรันทร (พระผู้ทำลายเมืองทั้งหลายที่คล้ายเมืองสวรรค์)
140.พระมหาสุทธิ (แห่งความฉลาดยิ่งใหญ่)
141.พระมหาวีระ (แห่งความกล้าหาญยิ่งใหญ่)
142.พระมโนคติ (พระผู้มีความนึกคิดได้กระจ่างแจ้งรวดเร็ว)
143.พระมันฤตยะปรียะ (พระผู้ทรงให้กำเนิดการเต้นรำ)
144.พระยุคารวตะ (ต้นเหตุแห่งการกำเนิดยุคทั้งหลาย)
145.พระอิษฏะ (พระผู้สมควรแก่การกราบไหว้บูชา)
146.พระสุรคณะ (พระผู้มีเทวะทั้งหมดเป็นบริวาร)
147.พระอปามนิธิ (เทพเจ้าแห่งน้ำ)
148.พระทรุชัย (ไม่มีผู้ใดสามารถเอาชนะพระองค์ได้)
149.พระวิทเยศ (เทพเจ้าแห่งบทโคลงทั้งหมด)
150.พระวาตรูป (แห่งลม)
151.พระตุหะ (เอกลักษณ์ด้วยพรการัตติเกยะ)
152.พระวีเรศวร (เทพเจ้าแห่งนักรบทั้งหลาย)
153.พระคุรุ (พระอาจารยิ่งใหญ่)
154.พระตรีศูลิน (เทพเจ้าผู้ทรงมีตรีศูลเป็นอาวุธ)
155.พระศิวาลัย (เทพเจ้าผู้มีที่ประทับอันเป็นมงคล)
156.พระลลาฏากษะ (พระผู้มีดวงตาอยู่ระหว่างหน้าผาก)
157.พระวีตตะภัย (พระผู้ไม่มีความหวาดกลัว)
158.พระธเยย (พระผู้มีค่าควรแก่การนั่งกรรมฐานรำลึกถึง)
159.พระปราณวะ (พระผู้ริเริ่มคำสวด โอม)
160.พระชันมาธิป (เทพเจ้าแห่งการให้กำเนิด)
161.พระวิภุ (พระผู้อยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง)
162.พระลักถาคมปารัค (เทพเจ้าผู้เป็นเจ้าแห่งพระเวททั้งหมด)
163.พระฤษี (นักพรต)
164.พระพรหมณ์ (พราหมณ์ยิ่งใหญ่)
165.พระชันมัมฤตยุราติค (พระผู้อยู่เหนือการเกิดแก่เจ็บและตาย)
166.พระอนาทยันตะ (พระผู้ไม่เคยมีการเกิดและการตาย)
167.พระคายตรีวัลลัภ (พระผู้ทรงโปรดต่อการท่องสวดมนตร์คายตรี)
168.พระสุรศัตรูหา (พระผู้ประหารศัตรูทั้งหลายของเทพ)
169.พระอิษฏเนมะ
170.พระมุกันทะ (พระผู้ประทานพรให้พ้นจากบาปหรือทรงเป็นเอกลักษณ์ด้วยพระวิษณุเทพ)
171.พระวิคตัชวร (ปราศจากความเจ็บไข้)
172.พระสวยัมเชโยติ (พระผู้ทรงมีแสงสว่างในพระองค์เอง)
173.พระอจัมเจล (พระผู้ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง)
175.พระกปิลัศมัศรุ (พระผู้มีเคราสีน้ำตาล)
176.พระภาลเนตร (พระผู้มีดวงตาบนหน้าผาก)
177.พระตรยีตนุ (พระผู้มีพระเวทประกอบเป็นรูปร่าง)
178.พระมหานีติ (พระผู้ทรงความยุติธรรมยิ่งใหญ่)
179.พระนาเกศ (พระผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์)
180.พระพฤหัทครถะ (พระผู้มีท้องอันกว้างใหญ่)
181.พระนาคหารัธฤก (พระผู้ทรงสวมใส่เครื่องประดับแห่งงู)
182.พระไวรัญจยะ (พระโอรสแห่งพระพรหม)
183.พระอวตัมภุ (พระผู้ให้กำเนิดพระองค์เอง)
184.พระอนิรุทร (ไม่มีสิ่งใดขัดขวางพระองค์ได้)
185.พระอจล (ไม่เคลื่อนไหว)
186.พระโลหิต (สีแดง)
187.พระตนุนปาต (เทพเจ้าแห่งไฟ)
188.พระพฏษัทศวะ (เทพเจ้าแห่งลม)
189.พระตมิศรหา (พระผู้ทำลายความมืด)
190.พระนิฑาคหะ (แห่งฤดูร้อน)
191.พระเมฆภักษะ (พระผุ้ทำร้ายก้อนเมฆร้าย)
192.พระศิษิราค (แห่งฤดูร้อน)
193.พระปาวัน (แห่งการบวงสรวงบูชา)
194.พระโฆร (พระผู้มีมีความหวาดกลัว)
195.พระจตุรเวท (แห่งพระเวททั้งสี่)
196.พระสหสรมูรธน (เทพเจ้าผู้มีหนึ่งพันเศียร)
197.พระเทเวนทร (เทพเจ้าแห่งเทวะทั้งหลาย)
198.พระเทวอสุรคุรุ (พระอาจารย์แห่งเทพและอสูร)
199.พระเทวเทพอสุรนมัสฤต (เทพเจ้าผู้ทรงได้รับการเคารพบูชาเทพและอสูร)
200.พระเทวตาตมา (พระวิญญาณแห่งเทพเจ้าทั้งหมด)
201.พระติชิ (เทพเจ้าแห่งไฟ)
202.พระพรหมจาริน (พระเจ้าแห่งการพราหมณ์)
203.พระลึงคาธยักษะ (เทพเจ้าแห่งพระสัญลักษณ์ลึงค์)
204.พระยุคาปหะ (พระผู้ทำลายกาลเวลา)
205.พระฆฤณารัณวะ (พระสมุทรแห่งความเมตตา)
206.พระวิโศก (ปราศจากความทุกข์โศก)
207.พระโศกนาศัน (พระผู้ทำลายความโศก)
208.พระตรีโลกบาล (เทพเจ้าแห่งสามโลก)
209.พระอโรกษัช (เอกลักษณ์ด้วยพระวิษณุเทพ)
210.พระปรศิวะ (พระศิวะเทพยิ่งใหญ่)
211.พระไกลาศศิธราวาสิน (พระผู้ประทับอยู่บนยอดเขาไกลาส)
212.พระทรุหิณ (เอกลักษณ์ด้วยพระพรหม)
213.พระสรวารถปริวรตัก (ต้นเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่าง)
214.พระสหัสรารจี (แห่งรัศมีพันสาย)
215.พระอรถานรก (แห่งโชคดีและโชคร้าย)
216.พระนิษกัณฏัก (เทพเจ้าผู้ไร้บัลลังก์)
217.พระสาตตวิก (พระผู้มีความรักเอ็นดู)
218.พระฤตตาคม (พระผู้สร้างอาคม)
219.พระอคมปิต (พระไร้ความหวาดกลัว)
220.พระสุขทะ (พระผู้ให้ความผาสุข)
221.พระอัปราชิต (พระผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ผู้ใดเลย)
222.พระศรุติประกาศ (พระผู้เผยแพร่พระเวท)
223.พระภูศายะ (พระผู้ประทับอยู่บนพื้นดิน)
224.พระกาลหานิ (พระผู้ทำลายกาลเวลา)
225.พระศานติปรายัณ (พระผู้ประทานความสงบสุข)
226.พระศุภัท (พระผู้ประทานซึ่งโชคลาภยิ่งใหญ่)
227.พระวิฆันนาคัน (พระผู้ทำลายอุปสรรคร้ายทั้งหมด)
228.พระศุลิน (พระผู้ถืออาวุธร้ายแรง)
229.พระมุณฑิน (พระผู้มีศีรษะโล้น)
230.พระอมฤตยุ (พระผู้ไม่มีวันตาย)
231.พระสรวัทฤก (พระผู้ทรงเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง)
232.พระสิงหะ (เทพเจ้าแห่งสิงโต)
233.พระมหามณี (แห่งเพชรน้ำเอก)
234.พระอนุตตมะ (พระผู้ดีเลิศที่สุด)
235.พระมหาภูช (พระผู้มีพระกรยิ่งใหญ่)
236.พระสรวโยนิ (แห่งต้นกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง)
237.พระสตุติปรียะ (พระผู้ทรงโปรดด้วยการสรรเสริญบูชา)
238.พระนิตยสุนทร (เทพเจ้าผู้มีความงามเป็นอมตะ)
239.พระศังกร
240.พระวิศวปติ วศเวศวร
พระนามทั้งหลายนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ได้พบเห็นและในบางครั้งก็นำเอาพระนามของ
มหาเทพเหล่านี้นำมากล่าวสวดเพื่อขอพรในสิ่งที่มีความปรารถนาหรือในการทำพิธีกรรม
บวงสรวงต่างๆ ซึ่งเรียกการสวดมนต์นี้ว่า "มนต์นามวีบูชา" วิธีการเพื่อที่จะรับฟังเรื่องราวแห่ง
พระศิวะปุราณ
         ท่านฤษีสุต (นับได้ว่าเป็นฤษีที่มีความรู้ดีในเรื่องราวแห่งพระปุราณทั้งหลาย 
ซึ่งเป็นศิษย์เอกแห่งฤษีวยาส)ได้เล่าเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ แห่งการรับฟังเรื่องราวแห่งพระปุราณทั้งหลาย เพื่อที่จะได้รับผลบุญอันเท่าเทียมกับ การได้กราบไหว้บูชาต่อพระสิวะมหาเทพนั่นเอง....

108 Names of Lord Shiva with Meanings.


Names ———— Meaning   

1   Aashutosh  —– One Who Fulfills Wishes Instantly
2   Aja  —– Unborn
3   Akshayaguna —–  God With Limitless Attributes
4   Anagha —–  Without Any Fault
5   Anantadrishti  —– Of Infinite Vision
6   Augadh  —– One Who Revels All The Time
7   Avyayaprabhu —–  Imperishable Lord
8   Bhairav —–  Lord Of Terror
9   Bhalanetra —–  One Who Has An Eye In The Forehead
10  Bholenath  —– Kind Hearted Lord
11  Bhooteshwara —–  Lord Of Ghosts And Evil Beings
12  Bhudeva —–  Lord Of The Earth
13  Bhutapala —–  Protector Of The Ghosts
14  Chandrapal  —– Master Of The Moon
15  Chandraprakash —–  One Who Has Moon As A Crest
16  Dayalu  —– Compassionate
17  Devadeva  —– Lord Of The Lords
18  Dhanadeepa  —– Lord Of Wealth
19  Dhyanadeep  —– Icon Of Meditation And Concentration
20  Dhyutidhara  —– Lord Of Brilliance
21  Digambara  —– Ascetic Without Any Clothes
22  Durjaneeya  —– Difficult To Be Known
23  Durjaya —–  Unvanquished
24  Gangadhara —–  Lord Of River Ganga
25  Girijapati  —– Consort Of Girija
26  Gunagrahin  —– Acceptor Of Gunas
27  Gurudeva —–  Master Of All
28  Hara —–  Remover Of Sins
29  Jagadisha —–  Master Of The Universe
30  Jaradhishamana  —– Redeemer From Afflictions
31  Jatin  —– One Who Has Matted Hair
32  Kailas  —– One Who Bestows Peace
33  Kailashadhipati  —– Lord Of Mount Kailash
34  Kailashnath  —– Master Of Mount Kailash
35  Kamalakshana —–  Lotus-Eyed Lord
36  Kantha —–  Ever-Radiant
37  Kapalin  —– One Wears A Necklace Of Skulls
38  Khatvangin  —– One Who Has The Missile Khatvangin In His Hand
39  Kundalin  —– One Who Wears Earrings
40  Lalataksha —–  One Who Has An Eye In The Forehead
41  Lingadhyaksha —–  Lord Of The Lingas
42  Lingaraja  —– Lord Of The Lingas
43  Lokankara —–  Creator Of The Three Worlds
44  Lokapal  —– One Who Takes Care Of The World
45  Mahabuddhi  —– Extremely Intelligent
46  Mahadeva  —– Greatest God
47  Mahakala  —– Lord Of All Times
48  Mahamaya  —– Of Great Illusions
49  Mahamrityunjaya —–  Great Victor Of Death
50  Mahanidhi  —– Great Storehouse
51  Mahashaktimaya  —– One Who Has Boundless Energies
52  Mahayogi  —– Greatest Of All Gods
53  Mahesha —–  Supreme Lord
54  Maheshwara —–  Lord Of Gods
55  Nagabhushana —–  One Who Has Serpents As Ornaments
56  Nataraja  —– King Of The Art Of Dancing
57  Nilakantha  —– Blue Necked Lord
58  Nityasundara  —– Ever Beautiful
59  Nrityapriya —–  Lover Of Dance
60  Omkara  —– Creator Of OM
61  Palanhaar  —– One Who Protects Everyone
62  Parameshwara  First Among All Gods
63  Paramjyoti  —– Greatest Splendour
64  Pashupati  —– Lord Of All Living Beings
65  Pinakin —–  One Who Has A Bow In His Hand
66  Pranava  —– Originator Of The Syllable Of OM
67  Priyabhakta —–  Favourite Of The Devotees
68  Priyadarshana  —– Of Loving Vision
69  Pushkara  —– One Who Gives Nourishment
70  Pushpalochana  —– One Who Has Eyes Like Flowers
71  Ravilochana —–  Having Sun As The Eye
72  Rudra —–  The Terrible
73  Rudraksha  —– One Who Has Eyes Like Rudra
74  Sadashiva —–  Eternal God
75  Sanatana —–  Eternal Lord
76  Sarvacharya —–  Preceptor Of All
77  Sarvashiva  —– Always Pure
78  Sarvatapana  —– Scorcher Of All
79  Sarvayoni —–  Source Of Everything
80  Sarveshwara  —– Lord Of All Gods
81  Shambhu  —– One Who Bestows Prosperity
82  Shankara  —– One Who Gives Happiness
83  Shiva —–  Always Pure
84  Shoolin  —– One Who Has A Trident
85  Shrikantha  —– Of Glorious Neck
86  Shrutiprakasha —–  Illuminator Of The Vedas
87  Shuddhavigraha  —– One Who Has A Pure Body
88  Skandaguru  —– Preceptor Of Skanda
89  Someshwara  —– Lord Of All Gods
90  Sukhada  —– Bestower Of Happiness
91  Suprita  —– Well Pleased
92  Suragana  —– Having Gods As Attendants
93  Sureshwara  —– Lord Of All Gods
94  Swayambhu —–  Self-Manifested
95  Tejaswani  —– One Who Spreads Illumination
96  Trilochana  —– Three-Eyed Lord
97  Trilokpati —–  Master Of All The Three Worlds
98  Tripurari  —– Enemy Of Tripura
99  Trishoolin  —– One Who Has A Trident In His Hands
100  Umapati  —– Consort Of Uma
101  Vachaspati  —– Lord Of Speech
102  Vajrahasta  —– One Who Has A Thunderbolt In His Hands
103  Varada —–  Granter Of Boons
104  Vedakarta  —– Originator Of The Vedas
105  Veerabhadra  —– Supreme Lord Of The Nether World
106  Vishalaksha —–  Wide-Eyed Lord
107  Vishveshwara  —– Lord Of The Universe
108  Vrishavahana  —– One Who Has Bull As His Vehicle


พระศิวะ หรือ พระอิศวร มหาเทพผู้ทำลายล้าง


      พระศิวะ (คนไทยเรียกว่า พระอิศวร) เป็นบิดาของ พระพิฆเนศ มีชายาคือ พระแม่อุมาเทวี พระศิวะทรงเป็นมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล หนึ่งใน ตรีมูรติ หรือ 3 มหาเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ)
      พระองค์ทรงประทานพรวิเศษให้แก่ผู้หมั่นกระทำความดี และยึดมั่นในศีลธรรม หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใดๆ พระองค์ก็จะประทานพรนั้นๆให้ แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงาม ผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะเทพจะเป็นผู้ทำลายทันที!!
     มีความเชื่อกันว่าพระศิวะนั้น สามารถช่วยปัดเป่ารักษาเยียวยาอากาศเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ ได้อย่างมหัศจรรย์นัก!! หากผู้ใดที่เจ็บป่วยหรือต้องการขอพรให้คนในครอบครัวหายเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้ากระทำการบวงสรวงบูชาและขอพรจากพระศิวะ ก็มักปรากฏว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นถูกปัดเป่าให้หายไปได้โดยสิ้นในเร็ววัน
      พระองค์เป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ด้วยเช่นกัน



      
      พระศิวะ นั้นเป็นเทพที่จะอำนวยพรประทานความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงวัว เลี้ยงม้า หรือเลี้ยงแกะ และอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตรทั้งปวง ก็จะมีความสำเร็จและมีความสมบูรณ์พูนสุข หากบวงสรวงบชาพระศิวะ...
      นอกจากบทบาทความสำคัญโดยรวมที่กล่าวมาแล้วนั้น อีกบทบาทหนึ่งที่เด่นชัดแยกออกไป จากบทบาทของการเป็นมหาเทพ ผู้ทรงมีพระมหากรุณา ประทานพรแก่มวลมนุษย์นั้น พระศิวะยังทรงเป็นเทพแห่งคีตา คือเป็นเทพเจ้าแห่งการดนตรี และการร่ายรำ ระบำฟ้อนอีกด้วย
      พระศิวะ ผู้เป็นพระเป็นเจ้าแห่งการทำลายล้าง พระองค์เปี่ยมไปด้วยอำนาจ พระพักตร์ของพระองค์แสดงให้เห็นว่าเป็นทั้งชาย เป็นทั้งหญิง เป็นทั้งผู้ใจดี เป็นทั้งผู้ดุร้าย จากชิ้นฝุ่นธุลี ไปจนถึงภูเขาหิมาลัย จากมดตัวเล็กๆ ไปจนถึงช้างตัวใหญ่ จากมนุษย์ไปจนถึงพระเป็นเจ้า อะไรก็ตามที่เราสามารถเห็นได้นั้น เป็นรูปแบบของพระศิวะทั้งหมด
      ในคัมภีร์อุปนิษัท ของฮินดู การท่องคำในพระคัมภีร์ส่วนมากมีคำว่า "ศิโวมฺสวหะ" (ข้าคือศิวะ) หมายความว่า บุคคลผู้มีสติปัญญาทุกๆคน ควรพิจารณาถึงตัวเอง และสิ่งทั้งหลายของสากลโลกเป็นรูปแบบของพระศิวะทั้งสิ้น เมื่อคิดระลึกได้อย่างนี้แล้ว ผู้นั้นก็จะเข้าถึงความสุขความสงบ
      การกำเนิดของพระศิวะนั้น ปรากฏเป็นเรื่องที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละยุคดังนี้



ยุคพระเวท
      เรื่องก็มีอยู่ว่า พระพรหม นั้น เกิดความรำคาญอกรำคาญใจเป็นอย่างยิ่งนัก ที่พระเสโทหรือเหงื่อผุดซึมทั่วพระวรกาย และยังไหลรินย้อยลงทั่วบริเวณพระพักตร์อีกด้วย ในวันอันร้อนอ้าวเช่นนั่น พระพรหมทรงบำเพ็ญภาวนา เพิ่มตบะบารมีให้แกร่งกล้าอย่างมุ่งมั่น เมื่อรู้สึกว่าถูกรบกวนด้วยเหงื่อเช่นนั้น ก็จึงได้นำเอาไม้ไปขูดๆ ที่บริเวณพระขนงหรือคิ้ว โดยมิได้ระมัดระวังองค์นัก คมของไม้นั้นจึงได้บาดบริเวณพระขนงของพระองค์ จนกระทั่งปรากฏพระโลหิตผลุดซึมออกมา และหยาดหยดลงบนกองเพลิงเบื้องหน้าของพระองค์นั้นเอง
      ทันทีที่พระโลหิตหยาดหยดลงในเปลวเพลิง ก็พลันเกิดเป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง จุติขึ้นมาในเปลวเพลิงนั้น ทันทีที่ถือกำเนิดขึ้นมาเบื้องหน้าพระองค์ เทพบุตรผู้งดงามองค์นี้ก็ได้ร้องไห้ พลางขอให้พระองค์ประทานนามให้แก่ตน ซึ่งพระพรหมได้ประทานให้ถึง 8 นามด้วยกันดังนี้
    ภพ สรรพ ปศุบดี อุดรเทพ มหาเทพ รุทร อิศาล อะศะนิ
       หลังจากนั้น เทพองค์นี้ก็มีชื่อเสียง เป็นที่นับถือของมนุษย์ทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้วบรรดามวลมนุษย์จะนับถือบูชาเทพบุตรองค์นี้ ในนามของ พระรุทร อันเป็นชื่อ หนึ่งใน 8 นาม ซึ่งนามรุทรนี้มีความหมายแปลได้ว่า ร้องไห้ สำหรับนามอื่นๆ อีก 7 นามนั้นยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าไรนัก
      ว่ากันว่าพระรุทรเทพบุตรที่มีชื่ออันแปลว่าร้องไห้นี้ เป็นมหาเทพที่มีความยิ่งใหญ่เกรียงไกร มีอำนาจบารมีค่อนข้างสูงนักในยุคพระเวทนี้ และยังเป็นเทพที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามนิยมนับถือบูชากันอย่างจริงจัง โดยนับถือให้พระรุทรเป็นเทพผู้ทำลายล้าง คือทำลายสิ่งที่เลวร้ายให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แล้วให้พระพรหมสร้างสิ่งที่ดีงามขึ้นใหม่


ยุคมหากาพย์ มหาภารตะ
      ในยุคนี้มีความเชื่อกันในเรื่องกำเนิดพระศิวะว่า พระองค์นั้นทรงจุติออกมาจากพระนลาฏ หรือหน้าผากของ พระพรหม จึงเท่ากับว่า พระศิวะ ก็เป็นพระโอรสองค์หนึ่งของ พระพรหม



ยุคไตรเภท
      คัมภีร์ในยุคนี้ได้บันทึกถึงกำเนิดพระศิวะว่า ทรงประสูติจาก พระนางสุรภี และพระบิดาก็คือ พระกัศยปะเทพบิดร
      คัมภีร์พรหมมานัส
พระศิวะเป็นเทพที่กำเนิดจาก พระประชาบดี มิได้เกิดจากพระโลหิตของ พระพรหม ดังเช่นที่มีการกล่าวไว้ในยุคพระเวท ครั้นเมื่อทรงจุติขึ้นมาแล้วเทพประชาบดีก็ถามพระโอรสว่า เหตุไฉนจึงร่ำไห้โศกาอาดูรตลอดเวลา
      พระรุทร หรือเทพบุตรโอรสของพระประชาบดีที่กำลังร่ำไห้อยู่นั้น จึงได้ทูลตอบว่า เพราะว่าพระบิดาไม่ได้ตั้งชื่อ ให้เมื่อไม่มีชื่อก็จึงเสียใจร้องไห้เช่นนั้น พระประชาบดีจึงได้ตั้งชื่อให้โอรสองค์นี้ว่า พระรุทรซึ่งหมายถึงการร้องไห้ และพระรุทรองค์นี้ในคัมภีร์พรหมนัสได้กล่าวไว้ว่า น่าจะหมายถึงองค์ศิวะนั่นเอง
ในคัมภีร์โบราณ ที่ปรากฏอยู่ในหอวชิรญาณ ได้อธิบายถึงประวัติการกำเนิดของพระศิวะไว้ว่า เมื่อโลกได้ถูกเผาด้วยไฟบรรลัยกัลป์จนพินาศโดยสิ้นแล้วนั้น ได้มี คัมภีร์พระเวทและพระธรรม บังเกิดขึ้น และเมื่อพระเวทกับพระธรรมมาประชุมรวมกัน จึงได้บังเกิดเป็นมหาเทพองค์หนึ่งคือ พระปรเมศวร ในคัมภีร์นี้อธิบายการกำเนิดของพระศิวะว่าทรงสร้างพระองค์ขึ้นมาเอง หลังจากการทำลายล้างโลก โดยที่มิได้เป็นโอรสหรือจุติมาจากการนิรมิตสร้างสรรค์ของมหาเทพองค์ใด
รูปลักษณ์ของพระศิวะนั้น มีปรากฏมากมายหลายลักษณะด้วยกัน แต่จุดเด่นที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระศิวะก็คือ รูปพระจันทร์เสี้ยวและดวงตาดวงที่ 3 บนหน้าผาก สร้อยประคำที่เป็นหัวกะโหลก และงูที่คล้องพระสอหรือคอของพระองค์อยู่นั้น ก็ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระศิวะที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
ตำนานกล่าวว่าที่มาของงูพิษที่พระศิวะทรงคล้องคอไว้ประดับองค์ ความจริงคือปู่ภุชงค์นาคราช พญานาคราชคู่บารมีแห่งองค์พระศิวะนั่นเอง
พระศิวะ นั้นเป็นเทพที่นิยมประพฤติองค์เป็นโยคีหรือผู้ถือศีล ดังนั้นรูปของพระองค์จึงมักปรากฏเป็นเทพที่ทรงเครื่องแบบที่ค่อนข้างติดดิน เป็นต้นว่า ทรงแต่งองค์คล้ายๆ พวกโยคะหรือพวกฤาษีสยายผมยาวแล้วม่นมวยผมเป็นชฎาบนศีรษะ ทรงนุ่งห่มด้วยหนังกวางบ้าง หนังเสือบ้าง
คัมภีร์โบราณหลายเล่มนั้น กล่าวถึงสีพระวรกายของพระศิวะแตกต่างกันไป บางคัมภีร์ระบุว่า พระวรกายของพระศิวะนั้นเป็นสีแดงเข้มราวกับเปลวไฟหรือโลหิต บางคัมภีร์ว่าพระวรกายขององค์พระศิวะนั้นเป็นสีขาว นวล บริสุทธิ์ ดั่งสีของพระจันทร์ แต่หลายๆคัมภีร์กล่าวไว้ตรงกันว่า พระศิวะนั้นเป็นเทพที่มีพระเนตร 3 ดวง ดวงที่ 3 นั้นจะปรากฏขึ้นอยู่บนหน้าผากขององค์โดยปรากฏเป็นดวงตารูปแนวนอนบ้าง รูปตั้งทรงพุ่มช้างบิณฑ์บ้าง และดวงตาที่ 3 นี้สามารถมองเห็นอดีตและอนาคตได้อีกด้วย รูปลักษณ์ของพระศิวะนั้น มีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามแต่ละปาง

        

ปางต่างๆแห่งองค์พระศิวะมหาเทพ
ปางจักราธนมูรติ (วิษณุวาณุครหมูรติ)
       อันเนื่องจาก พระวิษณุเทพ ได้ทำสงครามกับอสูรบนสวรรค์ และเกิดความเพลี่ยงพล้ำไม่อาจชนะฝ่ายอสูรได้ จึงได้ทำพิธีบูชาพระศิวะเทพขึ้น ซึ่งได้บูชาด้วยดอกบัววันละ 1,000 ดอกทุกวัน จนวันหนึ่งหาดอกบัวไม่ได้พระวิษณุเทพจึงควักลูกตาของตนเพื่อถวายบูชาแก่องค์ศิวะเทพ พระองค์ทรงพอพระทัยมาก จึงประทานลูกล้อ หรือ จักรหินสัญลักษณ์ของพระศิวะเทพเพื่อให้เป็นอาวุธของพระวิษณุต่อไป
ปางนนทิศานุครหมูรติ
       สรังคยานะ เกิดมาไม่มีบุตรสืบสกุล จึงไปขอพระเป็นเจ้า วิษณุเทพได้ประทานบุตรมาให้ตน ด้วยพอใจการบวงสรวงบูชาของฤาษี บันดาลอิทธิฤทธิ์ให้เด็กถือกำเนิดจากสีข้างของพระองค์ ทารกนี้รูปร่างเหมือนพระศิวะ ทรงพระราชทานนาม นนทิเกศวร นนทิเกศวรได้พรจากพระศิวะ ต่อมานนทิได้นำพิธีทรมานร่างกายบน ยอดเขามันธระ เพื่อให้เข้าถึงพระศิวะเจ้า พระศิวะเทพโปรดปรานมาก ทรงปรากฏตัวให้เห็นและรับเอาฤาษีนนทิเป็นหัวหน้ามหาดเล็กรับใช้อยู่ที่เขาไกรลาศ ทรงแต่งตั้งให้เป็นเทพบุตรนนทิเกศวร ส่วนพระชายาของเทพบุตรพระองค์นี้คือ นางสุยาศุบ้างก็ว่า เทพบุตรพระองค์นี้ตัวเป็นมนุษย์ หัวเป็นโค
ปางกิรทารชุนมูรติ 
       ท้าวอรชุน (ในมหากาพย์ภารตะ) ทำพิธีบูชาพระศิวะเพื่อขอประทานลูกธนูศักดิ์สิทธิ์ให้ตนเพื่อไปยิงอสูร ท้าวอรชุนได้บวงสรวงอยุ่ที่เขาไกรลาศ พระศิวะใช้มายาแปลงเป็นหมูป่าเข้าทำร้ายพราหมณ์หนุ่มและท้าวอรชุน พราหมณ์หนุ่มต้องการยิงหมูป่า อ้างว่าตนเห็นก่อน แต่ท้าวอรชุนไม่ยอม บอกว่าตนต่างหากที่เห็นก่อนจากนั้นทั้งคู่ก็เลยต้องเดิมพันด้วยการต่อสู้กันก่อน ไม่ว่าท้าวอรชุนจะใช้อาวุธใดก็มีอาจทำร้ายพราหมณ์หนุ่มได้ จนเมื่อท้าวอรชุนทรุดตัวลงกราบ พระศิวะพอพระทัยมอบลูกธนูวิเศษให้ไปปราบอสูร
ปางราวันนานูครหมูรติ
       ทศกัณฐ์ เจ้าเมืองลงกา หลังจากทำสงครามกับ ท้าวกุเบร ได้เสด็จผ่าน เทือกเขาหิมาลัย เห็นว่ามีทัศนียภาพอันน่ารื่นรมย์ ตั้งใจจะเข้าไปชมสถานที่ แต่เจอ นนทิเกศวร หัวหน้ามหาดเล็กของพระศิวะเทพขวางทางไว้ เพราะ เขาไกรลาศ เป็นที่ประทับของพระศิวะเทพและ พระนางปราวตี (พระแม่อุมา) ห้ามผู้ใดล่วงล้ำเข้าสู่เขตพระราชฐาน ทศกัณฐ์โกรธมาก จึงขู่อาฆาตและสาปแช่งว่า นนทิต้องสิ้นชีพด้วยน้ำมือลิง แต่นนทิเกศวรบอกว่า ทศกัณฐ์ต่างหากที่ต้องสิ้นชีพด้วยน้ำมือลิง ด้วยความโมโหอย่างถึงที่สุด ทศกัณฐ์เตรียมจะยกเขาไกรลาศขึ้นทุ่ม แค่โยกเขาด้วยอิทธิฤทธิ์เท่านั้น บรรดาเทวดาและมนุษย์ก็เดือดร้อนหนีกันจ้าละหวั่น พระนางปราวตีได้ทูลขอให้พระศิวะให้แก้สถานการณ์ ทรงใช้เท้าเหยียบที่พื้นลงเบาๆ เพื่อให้เขาไกรลาศตั้งดังเดิม และทรงปราบพยศอสูรทศกัณฐ์จนยอมศิโรราบ
ปางกาลารีมูรติ
       ฤาษีตนหนึ่ง ได้ทำพิธีบูชาสวดมนต์อ้อนวอนขอลูกกับพระศิวะเทพ พระองค์ทรงโปรดการบูชาจึงประทานลูกให้ แต่บอกว่า เด็กคนนี้จะอายุสั้น ฤาษีและภรรยาได้เลี้ยงดูลูกจนอายุ 16 ปี ลูกชายไปได้บวงสรวงต่อพระศิวะระหว่างที่ชะตาถึงฆาตประจวบเหมาะว่า เป็นช่วงที่เด็กคนนี้กำลังบูชาศิวลึงค์อยู่พอดี พระยม-กาลแห่งความตายได้เดินทางจากเมืองนรกมารับตัวเด็กหนุ่ม พระศิวะเห็นดั่งนั้นทรงพิโรธทรงปรากฏกายออกจากศิวลึงค์เข้าเตะพระยม พระยมสู้ฤทธิ์พระศิวะไม่ได้จึงหนีไปพระศิวะประทานพรให้เด็กหนุ่มมีชีวิตเป็นอมตะ
ปางกานันทกามูรติ
       ปางนี้คือปางพระศิวะทำลาย เทพเจ้าแห่งความรัก (กามเทพ) เมื่อ พระนางสตี (ชายาอีกพระองค์หนึ่งของพระศิวะ) เผาร่างตนเองไปนั้น พระศิวะเสียพระทัยมาก และเข้าสู่สมาธิเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ในที่สุดเมื่อพระนางมาจุติใหม่ โดยแบ่งภาคมาจากพระแม่ศักติ-ศิวา มาเป็นพระนางปารวตี (พระแม่อุมา) กามเทพต้องทำหน้าที่เพื่อให้พระศิวะเกิดความรัก เพื่อจะได้มีบุตรในการไปปราบอสูรชื่อ ทาราคา ในที่สุดเมื่อทุกอย่างสำเร็จ ทรงมีโอรสขึ้นมาคนหนึ่งชื่อ ขันธกุมาร (หรือ กาติเกยะ หรือ กุมารา หรือ สุภามันยะ อันเป็นพี่น้องแห่งพระพิฆเนศนั่นเอง) เพื่อไปปราบอสูรทาราคาให้สิ้น
ปางอรรธนารีศวร (ครึ่งพระศิวะ ครึ่งพระแม่อุมา)
ปางนี้เป็นปางครึ่งหญิงครึ่งชายในรูปลักษณ์ทางประติมกรรมนั้น จะแบ่งซีก ระหว่างพระศิวะกับพระอุมา ปางนี้ได้กำเนิดขึ้นครั้งแรก ครั้งเดียว ในสมัยการสร้างจักรวาล กล่าวคือ พระพรหมได้รับภารกิจให้สร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เพศชายเพียงอย่างเดียวไม่มีกำลังในการขยายเผ่าพันธุ์ในโลกใด้ ครั้งจะสร้างเพศหญิงขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาแบบอย่างมาจากไหน พระพรหมจึงต้องบวงสรวงมหาเทวาธิเทวะ มหาเทวะ ศิวะเทพ เพื่อให้เสด็จมาแก้ปัญหาที่ค้างคาใจอยู่ พระพรหมบวงสรวงจนเป็นที่พอใจก็เลยเสด็จมา นับเป็นครั้งแรกที่มาในปางอรรธนารีศวร เพศหญิงและเพศชายที่รวมกันอยู่ในร่างเดียวกัน ทำให้พระพรหมเข้าใจในกำลังเสริมของเพศคู่นี้ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และชีวิตใหม่



พาหนะแห่งพระศิวะ (นนทิ, นันทิ)
      โค หรือ วัว ที่มีนามว่า อุศุภราช หรือ โคนนทิ (อ่านว่า โค-นน-ทิ) คือ โคเผือกที่เป็นพาหนะประจำขององค์พระศิวะ ซึ่งมีกำเนิดที่ไม่ธรรมดา คือโคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากพ่อโค แม่โคเหมือนกับโคอื่นๆ แต่ทว่ากำเนิดเกิดจากมหาเทพเลยทีเดียว!!
เรื่องมีอยู่ว่าในการ กวนเกษียรสมุทร ครั้งยิ่งใหญ่ของทวยเทพทั้งปวงนั้น ก็ได้มีสิ่งวิเศษเกิดขึ้นมากมายหลายสิ่งด้วยกัน และ นางโคสุรภี ก็เป็นของของวิเศษอีกสิ่งหนึ่ง ที่ได้จุติขึ้นมาจากการกวนเกษียรสมุทรครั้งนั้น (รวมถึง พระแม่ลักษมี ก็ถือกำเนิดมาจากเหตุการณ์การกวนเกษียรสมุทรครั้งนี้นี่เอง)
      พระกัศยปะ นั้นก็มีความต้องการที่จะได้นางโคสุรภีเอาไว้เป็นพาหนะประจำองค์ แต่ทรงติดอยู่เล็กน้อยที่ว่านางโคสุรภีนั้นเป็นโคเพศเมีย หากนำมาเป็นพาหนะประจำองค์นั้น ก็ทรงอยากจะได้โคเพศผู้เสียมากกว่า
ดังนั้น พระกัศยปะจึงได้นิรมิตกายเป็นพ่อโคตัวผู้ แล้วก็ไปผสมพันธุ์สมสู่กับนางโคสุรภี จนกระทั่งแม่โคตั้งครรภ์และ ให้กำเนิดลูกออกมาเป็นโคเพศผู้สีขาวบริสุทธิ์ และมีลักษณะดีตั้งตรงตำราเป็นพิเศษ พระกัศยปะจึงได้ประทานนามให้กับโคเผือกที่เป็นโอรสนั้นว่า นนทิ หรือ นันทิ และได้ถวายให้เป็น พาหนะประจำองค์ คอยติดตามรับใช้พระศิวะมหาเทพสืบต่อมา
แต่ในบางคัมภีร์นั้น ก็กล่าวถึงประวัติการกำเนิดของโคนนทินี้ แตกต่างออกไป ด้วยกล่าวว่าแต่เดิมนั้น โคนนทิราช หรือ โคอุศุภราช นี้ เป็นเทพบุตรองค์หนึ่งบนสรวงสวรรค์ชั้นฟ้า ซึ่งเทพบุตรองค์นี้ก็มีนามว่า นนทิ มีหน้าที่เป็นเทพที่คอยคุ้มครองดูแลบรรดาสัตว์สี่เท้าทั้งปวง ที่อาศัยอยู่ในป่าใกล้ๆกับ เขาไกรลาส และ เทพนนทิ ที่เป็นเทพที่ครองสัตว์จัตุบาททั้งปวงนั้น ก็มักจะนิรมิตองค์เองให้กลายเป็น โคเผือก เพื่อให้ พระศิวะ ได้เสด็จประทับไปยังแห่งหนต่างๆ จนเป็นเสมือนพาหนะประจำพระองค์ไปโดยปริยาย



ซึ่งในคัมภีร์โบราณนั้นยังบันทึกไว้ด้วยว่า เทพบุตรนนทิองค์นี้ ไม่ได้เป็นคู่เทพที่จะมาแปลงกายเป็นโค ให้พระศิวะได้เสด็จประทับเป็นพาหนะเท่านั้น แต่พระนนทิ ก็ยังเป็นหัวหน้าแห่งเทพบริวารทั้งหลายทั้งปวง ของเทพพระศิวะอีกด้วย
บางคัมภีร์กล่าวว่า พระโคนนทิ นอกจากจะเป็นเทพผู้ครองสัตว์จัตตุบาทหรือสัตว์สี่เท้าทั้งมวลแล้ว ยังเป็นเทพที่เป็นนักดนตรีอีกด้วย ยังปรากฏว่าได้เคยร่วมนาฏกรรมรำฟ้อนกับองค์พระศิวะบ่อยๆ โดยรับหน้าที่ตีตะโพนคอยให้จังหวะ ในขณะที่องค์พระศิวะร่ายรำระบำฟ้อน ในวโรกาสสำคัญต่างๆ
พระโคนนทิ ยังมีความสำคัญอีกมากมายที่ทำให้บรรดามวลมนุษย์ที่บวงสรวงบูชาพระศิวะนั้น นิยมบวงสรวงบูชาโคนนทิด้วย โดยยกย่องให้เป็นโคพิเศษ เป็นโคศักดิ์สิทธิ์ที่เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์แห่งพระศิวะมหาเทพ
ดังนั้นการที่ชาวฮินดูไม่นิยมฆ่าวัวก็เป็นเพราะเคารพยกย่องและบูชาโคนนทิ ซึ่งเป็นโคศักดิ์สิทธิ์สำหรับมวลมนุษย์นั่นเอง ตามเทวาลัยหลายๆ แห่งของลัทธิไศวนิกาย (นับถือพระศิวะเป็นใหญ่สูงสุด) ก็จะปรากฏว่ามีการสร้างรูปเคารพของวัวนนทิไว้ให้ชาวบ้านชาวเมืองได้มาสักการะบูชาด้วย



ศิวะนาฏราช การร่ายรำของพระศิวะ
      พระศิวะ เป็นมหาเทพที่ค่อนข้างจะอยู่ในแนวของศิลปินมากกว่าเทพองค์อื่นๆ บรรดาทวยเทพทั้งปวง ต่างกล่าวขวัญกันถึงอารมณ์ศิลป์ของพระศิวะว่า เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเป็นต้นว่าในเรื่องของการแต่งองค์ทรงเครื่อง พระศิวะก็ไม่ค่อยจะโปรดแต่งองค์ด้วยเครื่องทรงอันหรูหรา ตระการตาดั่งราชันย์ ไม่โปรดที่จะประดับแก้วแหวนเงินทอง พราวระยับจับตาดั่งเทพส่วนใหญ่ พระศิวะทรงโปรดที่จะแต่งตัวปอนๆ ห่มหนังสัตว์มุ่นพระเกศาไว้รวกๆ มีงูเป็นดั่งสังวาลย์สาย พระองค์ชอบที่จะไปนั่งบำเพ็ญภาวนา ตามป่าช้าที่เต็มไปด้วยเงาของภูตพรายสารพัน
      พระศิวะยังทรงเป็นศิลปินแท้ๆ ที่ได้รับการยอมรับว่าทรงเป็นเจ้าของตำรับการร่ายรำระบำฟ้อนแห่งอินเดีย ด้วยเพราะทรงเป็นเทพแห่งศิลปะการร่ายรำ ปางหนึ่งของพระศิวะที่แสดงถึงฐานะของพระองค์ชัดเจน จึงเป็นปางที่ถือได้ว่าเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนักก็คือ ปางนาฏราช (nataraja)



ในตำนานเล่าว่า พระศิวะทรงชักชวนพระนารายณ์ปลอมแปลงโฉม เป็นสามี-ภรรยากันไป ณ ป่าแห่งหนึ่ง เพื่อกำราบเหล่าดาบสที่ไม่ตั้งตนบำเพ็ญตบะ และบูชาเทพอย่างที่ควร ดาบสกลุ่มนั้นประพฤติตนเหลวไหล ใฝ่ไปในทางชั่วมากกว่าจะอยู่ในศีลในธรรม
เมื่อทั้ง 2 มหาเทพไปปรากฏตัวในป่านั้น ในฐานะของโยคีหนุ่มกับภรรยาสาว (พระนารายณ์ทรงปลอมเป็นภรรยาพระศิวะ) เหล่าดาบสผู้มากกิเลสตัณหา ก็พากันมาเวียนวน เกี้ยวพาราสีสาวงามภรรยาของโยคีหนุ่ม โดยไม่สนใจหรอกว่านางเป็นผู้มีคู่มีเจ้าของแล้ว บรรดาเมียๆ ของดาบส ต่างก็ไม่วางตนว่าไม่โสดแล้ว พากันมาให้ท่าทอดสะพานโยคีรูปงามกันมิเว้นวาย



เวลาผ่านไป ก็ไม่มีดาบสผู้ใดพิชิตภรรยาสาวของโยคีได้ ความพิศวาสจึงได้กลายเป็นความเคืองแค้น เหล่าดาบสจึงพากันสาปแช่งโยคีและเมียรักให้มีอันเป็นไป แต่ทว่าคำสาปนั้นหลับไม่เกิดผลใดๆทั้งสิ้น พวกดาบสนั้นไม่อาจล่วงรู้ได้ว่า โยคีนั้นคือพระศิวะและภรรยานั้นคือพระนารายณ์ อิทธิฤทธิ์เวทมนตร์ใดๆ ก็มิอาจกล้ำกรายผู้เป็นเทวะได้แน่นอน แต่ด้วยความไม่รู้นั้น จึงยังทำพวกดาบสกำเริบเสิบสานต่อไป
พวกดาบสส่งยักษ์ชื่อมุยะละกะมาปราบ พระศิวะก็ทรงสำแดงฤทธิ์เดช ใช้เท้าข้างหนึ่งเหยียบอกยักษ์ไว้ แล้วก็ทรงร่ายรำไปในลีลาอันวิจิตรพิสดารยิ่งนัก บรรดาดาบสทั้งหลายจึงยอมศิโรราบ กราบขอขมาต่อพระศิวะโดยดี เมื่อได้ตระหนักว่าตนกำลังอหังการกับมหาเทพเสียแล้ว
อีกตำนานโบราณฝ่ายไศวะนิกาย กล่าวไว้ว่า เมื่อพระศิวะทรงตีกลองเป็นจังหวะอันไพเราะ โลกใบนี้ได้เคลื่อนไหวไปตามจังหวะกลองนั้นด้วย และเมื่อพระศิวะทรงร่ายรำเคลื่อนไหวพระองค์และพระกรพลิ้วไป ก็เป็นเหตุให้บังเกิดสุริยจักรวาลขึ้นในบัดนั้นเอง!! นักระบำของอินเดียจะต้องร่ายรำในท่าบูชาพระศิวะก่อนเสมอ แล้วจึงค่อยร่ายรำในท่าอื่นๆต่อไป




สำหรับท่วงท่าการร่ายรำทั้ง 108 ท่า ของพระศิวะนั้น ล้วนเป็นท่าที่ต้องใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา ข้อมือ เท้า เอว อก สะโพกหรือแม้แต่กล้ามเนื้อรอบดวงตา ลีลานาฏศิลป์แบบพระศิวะนั้นทั้งงดงามและน่าเกรงขาม 
นอกจากนี้ นาฏลีลาของพระศิวะนั้น เป็นต้นแบบของท่าฟ้อนรำแบบไทยๆ เราด้วย ซึ่งได้นำท่าของพระศิวะมาประยุกต์ดัดแปลง เช่นเดียวกับท่าร่ายรำระบำฟ้อนของอีกหลายๆ ประเทศ ได้ยอมรับกันทั่วไปว่ามีต้นแบบมาจากนาฏลีลาของพระศิวะเป็นส่วนมาก ผู้ที่เป็นศิลปินในแขนงการเต้นรำหรือฟ้อนร มักนิยมบูชาขอพรจากพระศิวะ ให้เกิดความรุ่งเรือง



ตำนานศิวะลึงก์ ตัวแทนแห่งพระศิวะเทพ



      ในไทยเรานั้น อาจคุ้นเคยกับกับเครื่องรางหรือวัตถุมงคลอย่างหนึ่ง ที่มีอำนาจสูงส่งด้านโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม ซึ่งเรารู้จักมักคุ้นกันดีในชื่อของ "ปลัดขิก" ปลัดขิกของไทยนั้นมีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีที่มาจาก ศิวลึงค์ ของอินเดีย ตามคติของ ไศวะนิกาย อันเป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่สูงสุด ในบรรดาเทพเจ้าทั้งหลาย 
      


      เครื่องหมายที่เป็นองค์แทนของพระศิวะนั้น ชาวไศวะนิกายใช้รูปของ ศิวลึงค์ หรือเครื่องเพศของชาย เป็นสัญลักษณ์สำคัญโดยให้เหตผลว่า นี่คือสัญลักษณ์แห่งพระผู้สร้าง สัญลักษณ์แห่งการให้กำเนิด คติการนับถือนี้นับว่ามีมานานมากที่สุด มีมานานนับพันๆ ปีมาแล้วและแพร่เขาสู่สยามประเทศผ่านทางวัฒนธรรมขอม และหัวเมืองฝ่ายใต้ด้านมลายู แต่เป็นที่แปลกที่ว่าหากเราไปในประเทศอินเดียพูดถึง ปลัดขิก กลับไม่มีใครรู้จัก แต่เขารู้จักเครื่องรางชนิดนี้ในนามของ "ศิวะลิงคัม" ซึ่งแท้ที่จริงก็มาจากคำว่า ลิงคะ หรือภาษาไทยคือ ลึงค์ นั่นเอง
       ในการนับถือพระศิวะนั้น มักมีการทำรูปสมมุติของพระองค์ด้วยการทำเป็นศิวะลึงค์ หรือสัญลักษณ์แห่งเพศชาย ด้วยเชื่อว่า พระศิวะ คือเทพเจ้าแห่ง
การรังสรรค์การกำเนิด (คติของไศวะนิกายนั้น การสร้างโลกของพระพรหมเป็นคำบัญชาของพระศิวะ)




       ดังนั้น สัญลักษณ์สากลที่เป็นตัวแทนของพระองค์ที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็น แท่งศิวลึงค์ นั่นเอง ดังจะพบศิวลึงค์นี้ตามเทวสถานทั้งในยุคโบราณและยุคปัจจุบัน และเชื่อถือกันว่าศิวลึงค์นี้เป็นตัวแทนพระองค์ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถบันดาลปาฏิหาริย์อำนวยอวยพรให้แก่ผู้ศรัทธา
คติการนับถือศิวลึงค์ หรือ ลิงคัม หรือ ลิงคะ นี้ถ้าเป็นชาวฮินดูโดยแท้ จะมีหัวใจในการนับถือมุ่งเน้นไปที่พระศิวะมากกว่าอย่างอื่น แต่อย่างในไทยเรานั้นแม้จะมีการนับถือปลัดขิก ซึ่งมีรากฐานมาจากศิวลึงค์อันเป็นตัวแทนของพระศิวะ แต่การนับถือปลัดขิกนั้นก็มิได้มุ่งความใส่ใจไปที่องค์พระศิวะ กลับมุ่งเน้นไปที่ตัวพระเกจิอาจารย์ผู้ปลุกเสกมากกว่า แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ที่แตกต่างกันมาก เพราะในไทยเราศาสนาฮินดูกลมกลืนอยู่ในศาสนาพุทธ ดังนั้นเครื่องรางจากฮินดูแทนที่จะสื่อไปถึงองค์พระเป็นเจ้าต้นสังกัดแท้ๆ กลับถูกโอนไปที่ตัวพระเกจิอาจารย์แทน




ในวัฒนธรรมฮินดู การนับถือศิวลึงก์หรือลิงคัมนี้ เป็นเรื่องปกติที่มีมานานหลายพันปีมาแล้ว ศิวลึงก์มีทั้งที่เกิดจากการสร้าง ขึ้น และที่เกิดเองตามธรรมชาติ
กำเนิดของศิวลึงค์นั้น ปรากฏเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างจะแปลกแยก แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละคัมภีร์ แต่ละในศาสนาต่างๆ ทางคติพราหมณ์ ซึ่งบางตำราก็กล่าวว่า องค์พระศิวะนั้นทรงตั้งพระทัยที่จะประทานรูปศิวลึงค์ หรือรูปเคารพที่เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ให้กับสาวกทั้งหลายทั้งปวงของพระองค์ได้สักการะบูชาแทนพระองค์ ซึ่งการที่ประทานรูปเคารพเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากในงานบูชา ตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 ซึ่งประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ที่จะต้องแสดงพระวรกายให้สาวกได้เห็นเป็นบุญตา
พระพรหมก็ปรากฏพระวรกายออกมาในรูปลักษณ์ที่มี 4 พักตร์ 4 กร ส่วนพระวิษณุก็จะปรากฏพระวรกายมาในรูปลักษณ์ที่เป็นมหาเทพมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร แต่สำหรับพระศิวะนั้น ทรงปรากฏพระวรกายในรูปกายที่แปลกแหวกแนวสักหน่อย คือไม่ปรากฏออกมาเป็นรูปองค์เทพโดยตรง แต่กลับแสดงพระวรกายให้ปรากฏออกมาเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือมหาเทพนั่นเอง
ดังนั้นหลังจากงานพิธีกรรมบูชาเทพตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 พระองค์นี้แล้ว บรรดาสาวกก็ได้สร้างศาลรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพพระพรหมเป็นรูปที่มี 4 พักตร์ 4 กร และสร้างรูปเคารพพระนารายณ์เป็นรูปมหาเทพผู้งดงามมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร และสำหรับพระศิวะนั้น สาวกก็ได้สร้างรูปเคารพให้เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ตามที่พวกตนได้พบเห็นปรากฏแก่สายตา อันเป็นรูปจำลองเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะนั่นเอง
ในคัมภีร์โบราณอีกเล่มหนึ่งนั้นได้บันทึกไว้ว่า ในวันหนึ่ง พระศิวะกำลังร่วมภิรมย์เสพสมกับพระแม่อุมาอัครมเหสี อย่างแสนสุขสันต์ในวิมารของพระองค์บนเขาไกรลาส แต่การเสพสมภิรมย์รักนี้ มิได้กระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์แต่อย่างใด พระศิวะและพระแม่อุมาทรงกระทำกันกลางท้องพระโรงเลยทีเดียว ดังนั้นบังเอิญเมื่อเหล่าทวยเทพทั้งปวงที่กำลังจะมาเข้าเฝ้าพระศิวะ ได้พบเห็นเข้า จึงรู้สึกว่าพระศิวะนั้นกระทำการอันไม่บังควร เป็นการอนาจารเป็นอย่างยิ่ง
หากทรงกระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องผิดแปลกแต่อย่างใด แต่หน้าท้องพระโรงนั้นเป็นที่เปรียบเสมือนห้องรับแขก ที่ย่อมจะต้องมีผู้คนผ่านเข้าออกได้เสมอ และเมื่อทวยเทพผ่านพบเห็นเข้าว่าองค์พระศิวะที่เป็นถึงมหาเทพผู้เป็นใหญ่แห่งเขาไกรลาส กำลังเสพสังวาสกับอัครมเหสีอย่างประเจิดประเจ้อ กลางท้องพระโรงเช่นนั้นจึงพากันรังเกียจเดียจฉัน และเสื่อมศรัทธาในองค์พระศิวะเป็นอย่างมาก
บรรดาทวยเทพจึงได้พากันเย้ยหยันและหมดสิ้นความนับถือยำเกรงในองค์มหาเทพ ต่างก็พากันยืนดูแล้วก็วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเห็นเป็นเรื่องที่น่าสมเพชไป ด้วยเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น พระศิวะทรงโกรธกริ้วเป็นยิ่งนัก จึงได้ทรงประกาศว่า อวัยวะเพศของพระองค์นี้แหละ จะเป็นเสมือนสัญลักษณ์และตัวแทนของพระองค์ ที่บรรดามนุษย์และเทพเทวะทั้งปวง จะต้องกราบไหว้บูชาถ้าต้องการความสุขและความสำเร็จอันงดงามในชีวิตและอวัยวะเพศหรือศิวลึงค์นั้น ก็จะมีดวงตามหาศาลล้อมรอบศิวลึงค์ถึง 1,000 ดวงตา เพื่อจะได้สามารถมองเห็นได้เด่นชัดในทุกทิศทุกทาง โดยดวงพระทัยและดวงพระวิญญาณขององค์พระศิวะจะสถิตอยู่ด้วย เพื่อคุ้มครองและอำนวยพรให้กับผู้ที่สักการะบูชาศิวลึงค์นั้น เมื่อได้ทรงแล่นถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์มาในขณะที่กำลังเกิดความกริ้วและความอัปยศเป็นที่สุดนั้น ถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์จึงได้บังเกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นจริง


อำนาจของศิวลึงก์
       ศิวลึงก์ หรือ ศิวลิงคัม ที่เกิดเองตามธรรมชาตินั้น โยคีแต่โบราณกล่าวว่า มันเกิดจากอำนาจของพระเป็นเจ้าบันดาล ผู้ได้มีไว้ย่อมถือว่าเป็นบุญลาภวาสนาของผู้นั้น อำนาจของศิวลึงค์หรือลิงคัมตามธรรมชาติมีอำนาจนานัปประการ มีพลังเหนือธรรมชาติ
ตามตำนานในเรื่อง รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เล่าไว้ตอนหนึ่งว่า อสูรชื่อ ตรีบุรำ เที่ยวเกะกะระรานชาวบ้าน จนเดือดร้อนไปทั้งสามโลก พระเป็นเจ้ามีบัญชาให้พระนารายณ์กำจัดเสีย แต่พระนารายณ์ก็ไม่สามารถทำอันตรายใดๆได้ เพราะอสูรตรีบุรำทูลศิวลึงค์ไว้เหนือศีรษะของตน พระนารายณ์จึงใช้กลลวงไปชิงเอาศิวลึงค์มาจากอสูรเสียก่อน จากนั้นจึงสังหารได้
อำนาจของศิวลึงค์ตามกล่าวมานี้ ย่อมมีอำนาจในการพิทักษ์รักษาชีวิต มิให้ต้องด้วยสรรพาวุธทั้งหลายและปราศจากอันตรายทั้งปวง





เครื่องหมายแห่งอำนาจและความสำเร็จ
       น้อยคนที่จะรู้ว่า ในหลากหลายหน่วยงานและหลากหลายธุรกิจ มีการนำเอาสัญลักษณ์ศิวลึงค์มาเป็นลัญลักษณ์ทางการค้า หรือตราแห่งเกียรติยศ อำนาจของศิวลึงค์ที่ถูกซ่อนไว้นี้แสดงถึงความเชื่อของนักบริหารธุรกิจ ที่เชื่อว่าศิวลึงก์จะสามารถสร้างความเจริญให้แก่องค์กรของตนได้ หรือเชื่อในอำนาจของศิวลึงค์ที่จะปกป้องคุ้มครอง และทำให้หน่วยงานของตนเป็นที่เกรงขาม มีอำนาจเหนือหน่วยงานอื่นและบุคคลทั้งหลายโดยทั่วไป มีอำนาจเหนือกว่าคู่แข่งทางธุรกิจของตน และนำมาซึ่งผลกำไรอันมหาศาล นำมาซึ่งความสำเร็จอย่างสูงสุดของธุรกิจการงานเนื่องจากการบูชาศิวะลึงค์นั้น สำหรับผู้นับถือศาสนาฮินดูย่อมเชื่อว่า เป็นการบูชาพระศิวะพระเป็นเจ้าของพวกเขา ดังนั้นการได้กราบไหวศิวะลึงก์นั้นเขาเชื่อว่าเป็นการได้บุญอย่างยิ่ง
       อำนาจจากพระศิวะนั้นสามารถต่ออายุผู้ที่ใกล้สิ้นใจ สามารถรักษาอาการไข้ที่เป็นมานาน สามารถบันดาลให้พ้นจากความยากจน ทั้งสามารถป้องกันภูติผีปีศาจ ไสยศาสตร์มนต์ดำทุกชนิด และแม้เมื่อสิ้นใจไปแล้วก็ย่อมไปอยู่กับพระศิวะ ย่อมไม่ตกลงสู่อบายภูมิอิทธิฤทธิ์ของศิวะลึงค์นั้นเกินกว่าบรรยาย ทั้งนี้ผู้ที่ศรัทธาในศิวะลึงค์ต้องเชื่อและศรัทธาในพระศิวะด้วย การบูชาศิวลึงก์นั้น ชาวฮินดูจะสรงน้ำนม แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เอาผงแดงสำหรับเจิมหน้าผากมาเดิมให้ พร้อมทั้งกล่าวคำภาวนาซ้ำๆ ว่า"โอม นมัส ศิวาย...โอม นมัส ศิวาย...โอม นมัส ศิวาย..." ถือว่าเป็นการได้บุญกุศลอย่างยิ่งและยังสามารถเพ่งศิวลึงก์ เพื่อทำสมาธิเป็นประจำทุกวัน แล้วสวดมนต์ขอพรต่อพระศิวะ ให้เข้าถึงบารมีอันยิ่งใหญ่แห่งองค์พระศิวะได้อีกด้วย



การบูชา บทสวดมนต์ คาถาบูชาพระศิวะ
       พระศิวะ คือผู้เป็นเจ้า มีอำนาจในการทำลายทุกสรรพสิ่ง หยั่งรู้ถึงจิตใต้สำนึกของมนุษย์ทุกคน เป็นผู้ประสานพลังแห่งจักรวาล เป็นที่เกรงกลัวแก่อสูรและสิ่งชั่วร้าย เป็นผู้อยู่เหนือเหล่าโยคี เทพเทวา และภูติ พระองค์คือเทพแห่งการถือพรต และเป็นเป้าหมายอันสูงสุดแห่งการปฏิบัติธรรมของไศวะนิกาย
       พระศิวะ ทรงให้การคุ้มครองแก่ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้อุทิศตนเพื่อสังคม ผู้ที่หมั่นทำบุญทำทาน ผู้ที่ปฏิบัติโยคะเพื่อความหลุดพ้น ทรงพอพระทัยผู้บำเพ็ญตบะด้วยความพากเพียร พระองค์ทรงพาเหล่าสรรพสัตว์ข้ามไปสู่ภพที่ปราศจากซึ่งกิเลสตัณหา 
       การปฏิบัติการบูชาและตั้งจิตระลึกถึงพระศิวะ จะช่วยให้พ้นจากกิเลส พ้นจากการยึดติดในอบายมุข สิ่งมัวเมาทั้งหมด ทรงประทานสติปัญญาในการดำรงชีวิตร่วมกับสัตว์โลก ประทานอำนาจเหนือศัตรู ทรงบันดาลพรให้ประสบความสำเร็จในกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนประทานการหยั่งรู้ในพลังลึกลับ พระองค์มีอำนาจสูงสุดในการควบคุมเหล่าภูติให้กระทำสิ่งต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้บูชาพระองค์อย่างเคร่งครัด
การบูชาพระศิวะ
       โต๊ะ หรือแท่นบูชา สามารถประดิษฐานร่วมกับเทพองค์อื่นๆได้ เช่น พระพรหม พระวิษณุ ศิวลึงค์ หรือครอบครัวของพระองค์ คือ พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา พระพิฆเนศ พระขันทกุมาร ควรปูโต๊ะหรือแท่นบูชาด้วย ผ้าสีขาว สีแดง สีเงิน โดยเฉพาะ ผ้าพิมพ์ลายหนังเสือ (หนังเสือเทียม) ท่านจะโปรดมาก แท่นหรือโต๊ะควรเป็นลายไม้ธรรมชาติ หรือทาสีด้วย สีดำสนิท สีแดง สีเงิน โดยไม่มีลายสีทอง (พระองค์ไม่โปรดสัญลักษณ์ที่สื่อถึงทองคำ เนื่องจากพระองค์ปฏิบัติโยคะอย่างสูงสุด มีความสมถะ เรียบง่าย)



เครื่องถวายสักการะ
- น้ำดื่ม นมสด (จืดหรือหวาน ไม่ปรุงแต่งกลิ่นหรือสี)
- ดอกไม้ สามารถใช้ดอกดาวเรือง ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกไม้ป่าต่างๆ ทุกสี ทุกพันธุ์
- กำยาน กลิ่นจันทน์ กลิ่นดอกบัว กลิ่นสมุนไพรและพรรณไม้ต่างๆ
- ผลไม้ ควรถวายผลไม้ที่มีกลิ่นหอมโชยอ่อนๆ รสชาติอ่อนๆ ไม่เปรี้ยวจัด ไม่หวานจัด หรือขมจัดเกินไป ผลไม้ไม่ควรปอกเป็นคำๆ ควรถวายทั้งเปลือก หรือเป็นลูกๆ เช่น กล้วยทั้งหวี (แต่มะพร้าวจะต้องผ่าหรือเทใส่แก้ว)
- ขนม เช่นเดียวกับเทพทุกองค์ คือ ถวายขนมรสหวาน มีกลิ่นหอม ห้ามถวายอาหารคาวและเนื้อสัตว์ 
- ธัญพืช เช่น งา ลูกเดือย ข้าวตอก ใบมะตูม หญ้าคา เผือก มัน ถั่วฝัก เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าว เมล็ดบัว พริกไทย เครื่องเทศต่างๆ
คาถา บทสวดมนต์บูชาพระศิวะ
ข้อควรจำ
ก่อนการสวดบูชาพระศิวะนั้น จะต้องสวดมนต์ต่อพระพิฆเนศก่อนเสมอ
บทสวดมนต์พระศิวะมีอยู่มากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(เลือกสวดบทใดบทหนึ่งหรือหลายๆบท) 
1. โอม นะมัส ศิวาย
2. โอม นะมัส ศิวายะ
3. โอม นะมัส ศิวายะ นะมะฮา
บทอัญเชิญ
4. โอม อิศราเม ศิวะเทวัญจะ ภะวันตุเม
ทุติยัมปิ อิศราเม ศิวะเทวัญจะ ภะวันตุเม
ตะติยัมปิ อิศราเม ศิวะเทวัญจะ ภะวันตุเม
5. โอม กรรมปูระเคารัม กรุณาวะตารัม
สัมสาระสารัม ถุชะเคนทะระหารัม
สะทะวะสันตัม หฤทะยาระวินเท
ภะวัมภะวานี สาหิตัม นะมามิ
บทสรรเสริญ
6. โอม นะมัส ศิวายะ
จำเป นะเคารา นะสีระกายายะ
กัตตะปูระณะ กาวะนะสี จะกายอ
นะมัสสิ วายะยายะ จะนะมัสสิ วายะยอ
กัตุกรี คิกากัง คะมะติวัตติตายายะ
มะมิกุณธะลายอ นะมัสสิวายายะ จะนะมัสสิวายา
อะระคัม สัมปุญญัม สีวิรุส
ตะไรยยะเก กาเม จะมะเหยะเต 
บทสรรเสริญบูชาพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 พยางค์
โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ 
นาเคนทะระ หารายะ ตะริโลจะนายะ
ภัสมางคะ ราคายะ มะเหศะวะรายะ
นิตยายะ ศุทะธายะ ทิคัมพะรายะ
ตัสไม นะการายะ นะมะศิวายะ
คำแปล : พระศิวะ ผู้มีสร้อยพระศอคือพระยานาค มีสามพระเนตร ทรงใช้ขี้เถ้าทาพระวรกาย
เป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด ทรงคงอยู่ชั่วนิรันดร์ ผู้บริสุทธิ์หมดจด ผู้ใช้ทิศเป็นเครื่องนุ่งห่ม
อักษร "นะ" คือพระศิวะ ข้าพเจ้าขอไหว้พระศิวะพระองค์นั้น
มันทากินี สะลิละ จันทะนะ จะระจิตายะ
นันทิศะวะระ ประมาถะ มะเหศะวะรายะ
มันทาระปุษปะ พะหุปุษปะ สุปูชิตายะ
ตัสไม มะการายะ นะมะศิวายะ
คำแปล : พระศิวะ ผู้ทรงลูบไล้พระองค์ด้วยน้ำจากแม่น้ำคงคาสวรรค์และกระแจะจันทน์
ผู้เป็นเจ้าสูงสุดควบคุมพระโคนนทิและหมู่ภูติผีปีศาจผู้เป็นบริวาร ผู้ได้รับการบูชาด้วยดอกมันทาระและดอกไม้มากมาย
อักษร "มะ" คือพระศิวะ ข้าพเจ้าขอไหว้พระศิวะพระองค์นั้น
ศิวายะ เคารีวัทนาพะชะวะ รินทะ
สูระยายะ ทักษะ ธะวะระ นาศะกายะ
ศรีนีละกัณทายะ วะรึษะ ธะวะชายะ
ตัสไม ศิการายะ นะมะศิวายะ
คำแปล : พระศิวะ ผู้เป็นความดีความหลุดพ้น
ผู้ทำให้พระพักต์ที่งามเหมือนดอกบัวของพระนางปารวตีเบิกเบานเช่นเดียวกับที่พระอาทิตย์ทำให้กลุ่มดอกบัวบาน
ผู้ทำลายพิธีบูชายัญของท้าวทักษะ ผู้มีพระศออันงดงามเป็นสีน้ำเงิน ผู้มีรูปพระโคอยู่ในธงประจำพระองค์
อักษร "ศิ" คือพระศิวะ ข้าพเจ้าขอไหว้พระศิวะพระองค์นั้น
วะสิษฐะ กุมโภทะภะวะ เคาตะมารยะ
มุนีนะทะระ เทวาระจิตะ เศขะรายะ
จันทราระกะ ไวศะวานะระ โลจะนายะ
ตัสไม วาการายะ นะมะศิวายะ
คำแปล : พระเศียรของพระศิวะได้รับการบูชาโดยมุนีเลิศ คือ ฤาษีวสิษฐะ ฤาษีอคัสตยะ ฤาษีเคาตมะ เป็นต้น
พวกเทวดามีพระอินทร์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ เป็นต้น
"วา" คือพระศิวะ ข้าพเจ้าขอไหว้พระศิวะพระองค์นั้น
ยักษะ สะวะรูปายะ ชะตาธะรายะ
ปินากะ หัสตะตายะ สะนาตะนายะ
ทิวะยายะ เทวายะ ทิคัมพะรายะ
ตัสไม ยะการายะ นะมะศิวายะ
คำแปล : พระศิวะ ผู้ทรงอยู่ในรูปของยักษ์ ทรงมุ่นมวยผม
ทรงธนูปินากะที่เป็นพระเป็นเจ้าที่มีมาแต่ดั้งเดิมอยู่ในสวรรค์ ที่เป็นเทพผู้เปลือยพระวรกาย
อักษร "ยะ" คือพระศิวะ ข้าพเจ้าขอไหว้พระศิวะพระองค์นั้น
โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ
โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ
โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ
โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ
โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ
(ขอพรตามประสงค์ จากนั้นกล่าวคำว่า โอม ศานติ ศานติ ศานติ เพื่อขอความสงบสุขแก่สรรพชีวิต)




เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
       ในครั้งหนึ่ง องค์มหาอุมาเทวี ได้ทูลถามองค์ พระศิวะ ถึงความสำคัญของเมล็ด รุทรักษะ ซึ่งองค์พระศิวะและเหล่าคณะปติ คณะบริวารของศิวะได้ใช้ประดับสวมใส่อยู่และได้รับทราบถึงคำตอบว่า ในครั้งหนึ่งของการทำสมาธิอันยิ่งใหญ่ ในการเปิดโลกญาณขององค์พระศิวะ เมื่อพระศิวะได้ทรงเห็นความทุกข์ยากลำบากใน การดำรงชีวิตของเหล่ามนุษย์บนโลก ด้วยความเวทนาในชะตากรรม น้ำพระอัสสุชล (น้ำตา) ของพระศิวะจึงได้หยดลงมาบนพื้นโลก ก็ได้บังเกิดเป็นต้นไม้ขึ้น พระศิวะจึงได้อำนวยพรให้กับต้นไม้ที่กำเนิดนั้น โดยให้ถือว่าเป็นต้นไม้มงคล และตั้งชื่อให้ว่า ต้นรุทรักษะ และอำนวยพรให้แก่มนุษย์ที่ได้นำเมล็ดรุทรักษะไปประดับ หรือสวมใส่ด้วยความเคารพรักและสวดบูชาอยู่เป็นนิจ
      เมล็ดรุทรักษะ หรือ น้ำตาพระศิวะ นี้ เป็นเมล็ดผลไม้ที่ทรงโปรดแห่งพระศิวะเทพ เป็นสิ่งที่นำความศักดิ์สิทธิ์ ขับไล่บาปทั้งหมดได้ด้วยการได้เห็น ได้สัมผัส และได้ท่องสวด (ลูกประคำ) 
จากหยดน้ำตาที่ไหลออกมา ได้เกิดเป็นต้นรุทรักษะขึ้น และได้ออกลูกมาเป็นจำนวนมาก ต้นรุทรักษะเหล่านี้ได้เจริญในดินแดน เกาฑะ, มธุรา, ลังกา, อโยธยา, มาลัย, ภูเขา, สหยะ, แคว้นกาศี และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ มันสามารถจะทำลายบาปให้หมดไปได้
      สีสรรต่างๆ แห่งเมล็ดรุทรักษะนั้นมีอยู่ 4 สี คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง และสีดำ ผู้ที่บูชาพระศิวะ จะต้องเลือกสวมใส่เมล็ดรุทรักษะตามวรรณะที่ตนอยู่  เมล็ดรุทรักษะ อันมีขนาดเท่า ลูกสมอ นับว่าเป็นขนาดที่วิเศษที่สุด แม้ว่าเมล็ดจะมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดพุทรา ก็จะได้รับประโยชน์และมีความผาสุกอันยิ่งใหญ่ ไม่มีสร้อยคออื่น หรือพวงมาลัยอื่นใด ที่จะนำความเป็นศิริมงคลและให้ความสำเร็จสมประสงค์ทุกอย่าง เท่ากับการได้สวมใส่เมล็ดรุทรักษะ จะต้องสวมใส่เมล็ดผลไม้นี้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย คือจะต้องร้อยเมล็ดรุทรักษะ 6 เมล็ด เมล็ดไว้บนหูแทนต่างหูทั้งสองข้าง จำนวน 101 เมล็ดจะร้อยใช้แทนสร้อยคอ จำนวน 11 เมล็ดจะสวมไว้รอบแขนที่ซ้ายและขวา , ที่ข้อศอกและที่บั่นเอว ผู้บูชาต่อพระศิวะเทพจะต้องร้อยรุทรักษะสวมเมล็ด กับด้ายสายสิญจ์ของเขา
กฎแห่งพระเวทย์การสวมใส่เมล็ดรุทรักษะในแต่ละวรรณะ 
       ตามกฎแห่งพระเวทย์ที่ได้รับวางไว้ คือ
        สีขาว สำหรับ วรรณะพราหมณ์ (ชั้นนักบวช ผู้สั่งสอน) 
        สีแดง สำหรับ วรรณะกษัตริย์ (ชั้นการปกครอง บ้านเมือง)
        สีเหลือง สำหรับ วรรณะแพศย์ (ชั้นนักค้าขาย ทั่วๆไป)
        สีดำ สำหรับ วรรณะศูทร (ชั้นแรงงาน)
   ประชากรแห่งวรรณะทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหญิงชาย ก็สามารถสวมใส่เมล็ดรุทรักษะได้ตามบัญชาของพระศิวะเทพ คนเหล่านั้นที่ได้สวมใส่เมล็ดรุทรักษะ กระทำการบูชาต่อพระศิวะและประพฤติดีตลอดชีวิต จะไม่ตกสู่นรกแห่งพระยมราชเลย 
       พระยมราช ได้มีบัญชาต่อบริวารฑูตของพระองค์ว่า "มนุษย์ผู้ใดที่สวมใส่เมล็ดรุทรักษะ แม้เพียงเมล็ดเดียวไว้บนศีรษะแล้ว มีการเขียน ตริปุนทรไว้บนหน้าผากและมีการท่องสวมมนต์ 5 พยางค์แล้วจะต้องทำความความเคารพต่อเขาทันที เขาเหล่านี้เป็นบริวารแห่งพระศิวะเทพ และไม่จับกุมหรือทรมานแต่อย่างใด 
ตราบนานเท่านานที่สวมใส่เมล็ดรุทรักษะ มนุษย์ผู้นั้นจะมีจิตวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นที่โปรดปรานแห่งเทพเจ้าทั้ง 5 พระองค์ (พระอาทิตย์, พระคเนศ, พระแม่ทรุคา, พระรุทระ และพระวิษณุเทพ) และเป็นที่ชอบพอรักใคร่ของเทพทั้งมวลด้วย"
คุณสมบัติเมล็ดรุทรักษะ
      1. ผู้ที่สวมใส่รุทรักษะ จะไม่มีไสยเวทย์ ภูตผี วิญญาณร้าย มารบกวน หรือรังควาญ 
      2. ผู้ที่สวมใส่รุทรักษะ เมื่อเสียชีวิตลงในขณะที่สวมใส่รุทรักษะจะไม่ต้องได้รับการคร่ากุม หรือจับกุมโดยยมทูต เพื่อไปรับโทษในนรก 
      3. ผู้ที่สวมใส่รุทรักษะ จะทำให้มีเรื่องเสียใจหรือเศร้าหมองน้อยลง เสียน้ำตาน้อยลง และหากเมล็ดรุทรักษะยิ่งมีขนาดเล็กลงเท่าใด ก็จะยิ่งจะทำให้เสียน้ำตาน้อยลงเท่านั้น 
      4. ผู้ที่สวมใส่รุทรักษะ จะสามารถรักษาสุขภาพ ให้ดีและแข็งแรงได้ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคที่ ทางการแพทย์ไม่สามารถรักษาให้หายเด็ดขาดหรือให้ข้อสรุปที่ชัดเจนได้